บทคัดย่องานวิจัย

การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง

บทคัดย่อ

จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศ มีจุดเด่นทาง ธรรมชาติที่หลากหลายเนื่องจากลักษณะพื้นที่ทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และตอนกลางบางส่วนเป็นเขต ภูเขาสูง ที่ราบสูงและลาดเอียงลงมาทางตอนกลาง ทางตะวันตก และตอนใต้จนเป็นพื้นที่ราบ พื้นที่ราบลุ่ม ท า ให้สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ทุกสาขา ทั้งสองจังหวัดนี้เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้ หลากหลายชนิด อุตรดิตถ์เป็นเมืองมหัศจรรย์แห่งผลไม้ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลางสาด สับปะรดห้วยมุ่น เป็นต้น แต่ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล การผลิตทุเรียนที่ อ าเภอลับแลและอ าเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของภาคเหนือ คือ 22,080 ไร่ ทุเรียนหลง ลับแลเป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง โดยมีพื้นที่ปลูกในอ าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลขนาดเล็ก 1-2 กิโลกรัม เมล็ดลีบ เนื้อสีเหลืองอ่อนนุ่ม กลิ่นหอม และรสชาติหวาน ในปี 2556/57 มีเกษตรกรปลูกทุเรียนหลง ลับแลจ านวน 157 ราย เนื้อที่เพาะปลูก 1,571 ไร่ ปริมาณผลผลิต 1,009 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 642 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันทุเรียนหลงลับแลได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ท าให้ปริมาณไม่พอเพียงต่อความต้องการ ของผู้บริโภคและมีราคาสูง ปัญหาส าคัญในการผลิตทุเรียนพันธุ์หลงลับแลและหมอนทองในปัจจุบัน คือ ทุเรียน มีคุณภาพไม่สม่ าเสมอ เนื่องจากการขาดธาตุอาหารหรือปริมาณธาตุอาหารที่มีในดินไม่เพียงพอต่อการผลิต การไว้ผลต่อต้นไม่เหมาะสม และปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนใต้ท าลายผลทุเรียน ซึ่งเกิดจากหนอนเจาะ เมล็ดทุเรียนและหนอนเจาะผลทุเรียน ท าให้เปลือกผลเป็นรู เมล็ดและเนื้อถูกหนอนกัดกินภายในผลจนเสียหาย ท าให้ผลทุเรียนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และปัญหาส าคัญของผลผลิตทุเรียน คือ พบว่าผลทุเรียนมี คุณภาพต่ า มีการตัดทุเรียนอ่อนขายปะปนกับทุเรียนแก่คุณภาพดี ซึ่งทุเรียนอ่อนไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และผู้บริโภค พบการสุกที่ไม่สม่ าเสมอ การพัฒนาสีเนื้อไม่สมบูรณ์ รสชาติไม่ดี เป็นต้น การเก็บเกี่ยวทุเรียน ทั่วไปจะใช้ลักษณะต่าง ๆ ทางกายภาพ เช่น การนับอายุการเก็บเกี่ยว การฟังเสียงเคาะผลโดยใช้ไม้เคาะ การชิม ปลิง ความยืดหยุ่นของปลายหนามทุเรียนแก่ ความแข็งของก้านผล เป็นต้น ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้จัดท าโครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลและหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือ ตอนล่าง” ให้แก่เกษตรกร นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ที่ สนใจ ที่มีภูมิล าเนาอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ และจังหวัดอื่น ๆ จ านวน 100 คน ในหัวข้อ เรื่องเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออก โดยมีเนื้อหาในการบรรยาย ได้แก่ การผลิตทุเรียนหลงลับแลเพื่อ การส่งออก โรคและการป้องกันก าจัดของทุเรียน การป้องกันก าจัดแมลงในทุเรียนหลงลับแลเพื่อการส่งออก สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียน ระบบการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การจัดการแปลงปลูก ทุเรียนหลงลับแลอย่างถูกต้อง และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว พร้อมจัดท าวีดิทัศน์ และคู่มือเทคโนโลยีการผลิต ทุเรียนเพื่อการส่งออก แจกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จัดการศึกษาดูงานแก่เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ที่สนใจ จ านวน 50 คน ศึกษาดูงานในสภาพแปลงปลูกสวนคุณสิทธิเดช หล่อวัฒนา อ าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งจาก การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมต่อการด าเนินการจัดอบรมและการประเมินระดับความเข้าใจและ ความสามารถในการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ พบว่า ในด้านการด าเนินงานโดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก และการประเมินระดับความเข้าใจและความสามารถในการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ พบว่ามีระดับความเข้าใจและ ความสามารถน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในระดับมาก เช่นกัน ค าส าคัญ: ทุเรียนหมอนทอง, ทุเรียนหลงลับแล, การจัดการความรู้, เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว