บทคัดย่องานวิจัย

การจัดการโรคไฟท็อปโทร่าของทุเรียนอย่างแม่นยำ และยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดจันทบุรี

รัชดาวรรณ ชีวังกูร.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2562).

บทคัดย่อ

          จากการสำรวจสวนทุเรียนของเกษตรกรที่ร่วมโครงการ และเก็บตัวอย่างดิน ราก เปลือกไม้เพื่อ นำมาแยกเชื้อสาเหตุของโรคจาก 5 สวน ในพื้นที่ อำเภอท่าใหม่ อำเภอเขาคิชกูฎ จ. จันทบุรี อำเภอพบ พระ จ.ตาก อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ และอำเภอ เวียงเชียงรุ้ง จ. เชียงราย พบว่าต้นทุเรียนในทุกสวนแสดง อาการของโรครากเน่าโคนเน่า แต่แตกต่างกันตามความรุนแรงของโรค โดยพบตั้งแต่ต้นที่มีลักษณะปกติ แต่เมื่อขุดดูบริเวณราก จะพบว่าขนราก (root hair) ถูกทำลาย รากถอดปลอก บางต้น มีอาการตายจาก ยอด (die back) และ ในต้นที่อาการรุนแรง จะมีทั้ง รากเน่า ตายจากยอด และโคนเน่า มีแผลสีดำ ที่มีน้ำ ไหลออกมา และเมื่อทำการแยกเชื้อสาเหตุ สามารถแยกเชื้อรา Phytophthora และ Pythium จำนวน 28 ไอโซเลท จากตัวอย่างที่เก็บมาทั้งหมด และเมื่อนำเชื้อทั้งหมดมาทำการทดสอบความสามารถในการทำให้ เกิดโรครากเน่าโคนเน่าบนใบทุเรียนในสภาพห้องปฏิบัติการ พบว่าสร้างความรุนแรงของโรคที่ระดับรุนแรง มาก จำนวน 12 ไอโซเลท ระดับ ปานกลาง จำนวน 4 ไอโซเลท ระดับต่ำ จำนวน 2 ไอโซเลท และไม่ทำให้ เกิดโรค จำนวน 10 ไอโซเลท จากนั้นคัดเลือกไอโซเลทของเชื้อสาเหตุที่มีระดับความรุนแรงในระดับรุนแรง มาก จำนวน 10 ไอโซเลท เลท มาทำวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมเบื้องต้นพบว่ามีความใกล้เคียง กับเชื้อรา Pythium cucurbitacearum, P. vexans, P. delicense, Phytophthora cinnamomi และ Ph. palmivora จากการศึกษาเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ Chaetomium spp. โดยทำการสำรวจและเก็บตัวอย่าง พบ เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ทั้งหมดจำนวน 19 ตัวอย่าง ที่มีประสิทธิภาพในการเป็นปฏิปักษ์ โดยการทดสอบ ความสามารถในการควบคุมเชื้อรา Phytophthora spp. ที่มีความรุนแรงในการก่อโรคจากการทดสอบ ความสามารถในการก่อโรคบนใบทุเรียน (detached leave technique) โดยวิธีเลี้ยงเชื้อร่วมกันบน อาหาร PDA เป็นเวลา 7 วัน พบว่าเชื้อรา Chaetomium spp. 3 ไอโซเลท ได้แก่ CMU08, CMU19 และ CMU13 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา Phytophthora spp. บนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เท่ากับ 50.55, 50.00 และ 48.89 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีของเชื้อรา Phytophthora spp. บนอาหารเลี้ยงเชื้อร่วมเฉลี่ยเท่ากับ 2.5 เซนติเมตรเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อราสาเหตุ โรคบนอาหาร PDA (ชุดควบคุม) ที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีเฉลี่ยเท่ากับ 9 เซนติเมตร Chaetomium spp. นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไอโซเลทที่ CMU08 และ CMU19 สามารถ สร้างสารที่ทำให้เกิด clear zone ได้ เมื่อนำบริเวณที่เชื้อเจริญเข้าหากัน (interface) ทำสไลด์ส่องดูในกล้องจุลทรรศน์พบว่า เส้นใยของเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไอโซเลทที่ CMU13 เจริญเข้าพันรัดเส้นใยของเชื้อ สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชของเชื้อจุลินทรีย์ ปฏิปักษ์ จากการทดสอบสารออกฤทธิ์ชีวภาพ จากเชื้อรา Chaetomium spp. ที่มีผลต่อการยับยั้งการ เจริญเติบโตของโคโลนี และยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อรา Phytophthora spp. พบว่าสารสกัด Chaetomium spp. (Hexane) พบว่าที่ความเข้มข้น 10, 50, 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่สามารถยับยั้งการ เจริญเติบโตของโคโลนีเชื้อสาเหตุโรคได้อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ และที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 มิลลิกรัมกรัมต่อลิตรสามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของโคโลนี มีค่าเท่ากับ 32 และ 76.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม จากการทดสอบการใช้ไบโอเทคนิค (Biotechnique) ในการรักษาโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ในสภาพแปลงปลูกทดลองในสวนของคุณสมชาย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีประกอบด้วยการใช้ปุ๋ย อินทรีย์(การทดลองครั้งนี้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ กทม.) ใต้ทรงพุ่มอย่างต่อเนื่อง จากนั้นทำการใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อราคี โตเมี่ยม นิวทริครอป และ นาโนไคโตซาน และเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีการใช้สารเคมี พบว่าการใช้ไบโอ เทคนิคสามารถช่วยรักษาอาการรากเน่าโคนเน่าของต้นที่เรียนที่เป็นโรคได้ดีกว่าการใช้สารเคมี โดยพบว่ามี บางต้นที่เห็นการพัฒนาของแผลลดลง คือบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวง หรือเป็น ทางน้ำไหลลงด้านล่าง หรือมีรอยแตกของแผล จากนั้นทำการเปิดเนื้อไม้ โดยเปลือกไม้ออก และใช้ชีวภัณฑ์ เชื้อใช้คีโตเมี่ยมผง ผสมกับนาโนอลิซิเตอร์ เล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นแผลฉ่ำน้ำ เมื่อสารชีวภัณฑ์แห้งแล้ว จะช่วยในการดูดซับน้ำ และรักษาอาการเน่าของโคนต้น ทำให้เนื้อไม้บริเวณลำต้นแห้ง และเปลี่ยนเป็นสี น้ำตาลตามเดิม ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบกับการปลูกกล้าทุเรียนในพื้นที่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เชื้อราคีโตเมี่ยม รองก้นหลุมก่อนปลูก และเติมอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการใช้ ผลิตภัณฑ์นิวทริครอป และ นาโนไคโตซาน พบว่ามีการตายของต้นกล้าทุเรียนเพียงร้อยละ 10 แต่พบการ ตายของต้นกล้าทุเรียนที่จัดการโดยใช้สารเคมีเป็นหลักร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่าการทดลองในกรรมวิธี biotechnique สามารถควบคุมการเกิดโรคได้ดี โดยเกษตรกรทำการปลูกต้นกล้าใหม่แทนต้นเดิมที่ตาย และทำการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อราคีโตเมียมแบบเชื้อสด ที่เพราะเลี้ยงหัวเชื้อจากโครงการ การทดสอบการควบคุมโรครากและโคนเน่าของต้นกล้าทุเรียนอายุ 8 เดือน ปลูกเชื้อด้วยเชื้อรา สาเหตุโรคไอโซเลท P-05 ในเรือนทดลอง ทำการป้องกันกำจัดโรคในต้นกล้าทุเรียนที่ทดสอบในกระถางโดย ใช้สารชีวภัณฑ์ที่มีจำหน่ายเป็นการค้าชื่อ Ketomium® และใช้เชื้อสด Chaetomium sp. CMU-13 (unknown species) โรยรอบโคนต้นในกระถาง หลังจากการทดลองรักษาเป็นเวลา 2 เดือน กรรมวิธีที่ใช้คี โตเมียมไอโซเลท CMU-13 มีการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นกล้าที่สมบูรณ์มากกว่ากรรมวิธีที่ใช้ Ketomium® ในขณะที่กรรมวิธีชุดควบคุมต้นกล้าทุเรียนแสดงอาการติดเชื้อรุนแรงและตายในที่สุด