บทคัดย่องานวิจัย

การชักนำให้เกิดการกลายในกล้วยหอม (Musa spp.) จีโนม AAA ด้วยรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันและตรวจสอบด้วยเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดี

ศิริญยาคาชิมา, ธีระชัย ธนานันต์ และคณะ,
Thai Journal of Science and Technology, 9(5), 668-679. (2563). 

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการผสมพันธุ์ของกล้วยมีข้อจำกัด เนื่องจากกล้วยมีความเป็นหมันสูงและผลของกล้วยเกิดแบบ parthenocarpy ทำให้การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมพันธุ์มีความเป็นไปได้ต่ำการศึกษานี้เป็นการชักนำให้เกิดการกลายในกล้วยหอม(Musa spp.) ที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อและตรวจสอบการกลายด้วยเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดี เมื่อนำเนื้อเยื่อกล้วยหอมทอง กล้วยหอมทองไต้หวัน และกล้วยหอมเขียวไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันที่ปริมาณรังสี 0-80เกรย์ แล้วนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรMSที่เติมBA 2มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าการฉายรังสีที่สูงกว่า40เกรย์ มีผลท าให้กล้วยทั้ง3พันธุ์ มีอัตราการตายเพิ่มขึ้น โดยกล้วยหอมทองไต้หวันและกล้วยหอมเขียวที่ฉายรังสี20เกรย์ มีอัตราการรอดชีวิต100เปอร์เซ็นต์ ส่วนกล้วยหอมทองมีอัตราการรอดชีวิต 80เปอร์เซ็นต์ และพบว่าปริมาณรังสีที่ทำให้กล้วยทั้ง3พันธุ์ ตายที่ 30 เปอร์เซ็นต์(LD30)มีค่า8และ 22.529.4 เกรย์ ตามลำดับ ผลดังกล่าวแสดงถึงความทนต่อ Technology669รังสีที่ไม่เท่ากันในกล้วยแต่ละพันธุ์ ส่งผลให้การเจริญเติบโตแต่ละด้านเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต่างกัน ซึ่งปริมาณรังสีที่ค่า LD30 ทำให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติ คือ ใบมีลักษณะหดสั้น ใบม้วน ลำต้นแคระแกร็น และมีสีขาวซีด เมื่อตรวจสอบการกลายของกล้วยทั้ง 3พันธุ์ ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีโดยใช้ไพรเมอร์E32 พบว่าสามารถแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของต้นที่ผ่านการฉายรังสีออกจากต้นที่ไม่ผ่านการฉายรังสี