บทคัดย่องานวิจัย
การพัฒนาการจัดการห่วงโซ่อุปทานไม้ผลเศรษฐกิจใหม่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง (พัฒนาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาที่เหมาะสมสำหรับกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50)
พีระศักดิ์ ฉายประสาท, พุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม, บุญส่ง แสงอ่อน และ มาฆะสิริ เชาวกุล
แผนงานวิจัย: รายงานฉบับ สมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563).
บทคัดย่อ
สำหรับประเทศไทยกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ปลูกได้ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศและ ต่างประเทศ แต่ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์นั้น ยังมีมูลค่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศส่งออกอื่น ๆ และ ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ แนวโน้มพื้นที่ปลูกลดลง แม้ตลาดจะมีความต้องการอยู่ก็ตาม เนื่องจากปัญหา โรคตายพรายที่มักพบเกิดในกล้วยน้ำว้าเป็นเหตุให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โครงการนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตและการแปรรูปกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 โดยศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ การเพิ่มคุณภาพผลผลิต ยืดอายุการเก็บรักษา เทคโนโลยีการบ่มเหมาะสม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และ ต้นทุนโลจิสติกส์ของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 พบว่า การเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณต้นบนอาหารสูตร MS ที่ เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตสูตร BAP : TDZ อัตรา 6 : 2 มีจำนวนต้นสูงสุด 2.60 การชักนำต้นอ่อน ให้เกิดรากบนอาหารสูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญบโต NAA 0.4 มิลลิกรัม มีจำนวนรากเฉลี่ยสูง ที่สุดเท่ากับ 4.45 ราก ภายหลังย้ายปลูกต้นอ่อนในสภาพโรงเรือนระยะเวลา 4 สัปดาห์ บนวัสดุปลูก 7 สูตร พบว่าวัสดุปลูกสูตรที่ 1 หรือส่วนผสมของทรายและวัสดุปลูกสำเร็จ อัตราส่วน 1 : 1 มีอัตราการรอด สูงที่สุด 99.44% และสามารถส่งเสริมให้ต้นอ่อนมีการเจริญเติบโตสูงสุดทั้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น เทียม และจำนวนใบ การเพิ่มคุณภาพผลผลิต พบว่า การใส่สูตรปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 500 กรัม ทำให้ กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีกว่าการใส่ปุ๋ยสูตรอื่น ๆ โดยมีความสูงต้นเฉลี่ยสูง ที่สุด เท่ากับ 286 เซนติเมต และมีคุณภาพผลผลิตของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ดีที่สุดโดยปริมาณ ของแข็งที่ละลายน้ำได้เท่ากับ 6.74 องศาบริกซ์ กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ระยะการเก็บเกี่ยว 90 วันหลัง ตัดปลี สุกเร็วกว่าการเก็บเกี่ยวระยะอื่น ๆ เนื่องจากมีความแน่นเนื้อลดลงมากที่สุด 3.11 นิวตัน และมี อัตราการหายใจสูงที่สุด 41 CO2/Kg.hr ศึกษาวิธีการยืดอายุเก็บรักษาที่มีต่อการชะลอการสุกของกล้วย พบว่า ผลกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 ºC สามารถชะลอการสุกแก่ได้ดี แต่พบการเกิด ของอาการสะท้านหนาวในวันที่ 15 ของการเก็บรักษา ผลของสาร 1-MCP ร่วมกับอุณหภูมิต่ำ พบว่า การ รมด้วย 1-MCP เป็นเวลา 12 ชั่วโมง สามารถชะลอการสุกแก่ได้ดีที่สุด เก็บรักษาได้นานที่สุด 27 วัน การศึกษาผลของชนิดของถุงพลาสติกที่มีต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของกล้วย พบว่า การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยในถุง white ethylene absorbing bag สามารถยืดอายุการเก็บ รักษาได้ดีที่สุดเป็นเวลา 27 วัน ชะลอการสูญเสียน้ำหนัก การเปลี่ยนแปลงสีเขียวเป็นสีเหลือง ชะลอความ แน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ต่ำ เทคโนโลยีการบ่มที่เหมาะสมต่อ คุณภาพกล้วย พบว่า การบ่มกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ด้วยการจุ่มสารละลายเอทีฟอนที่มีความเข้มข้นสูง 750 ppm สามารถช่วยให้กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เกิดการสุกได้ดี แต่จะดีที่สุดหากบ่มในอุณหภูมิสูง กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่บ่มด้วยเอทิฟอน 3 ซอง/10 กิโลกรัม สามารถเร่งกระบวนการสุกแก่ได้ดีที่สุด เป็นเวลา 9 วัน เร่งค่าสีเขียวเป็นสีแดงได้เร็วที่สุด ความแน่นเนื้อต่ำ อัตราการหายใจ และการผลิตเอทิลีน สูงมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ การศึกษาวิธีการแปรรูปกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 พบว่า การศึกษาอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสมสำหรับการทำกล้วยทอดสุญญากาศ คือ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ความดัน 5 ทอร์ จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคให้การ ยอมรับมากที่สุด ส่วนการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมกล้วย พบว่า ผู้บริโภคมีความชอบผลิตภัณฑ์ แยมกล้วยระดับปานกลางถึงมาก และการตรวจคุณภาพทางจุลินทรีย์ในทุกสภาวะตลอดระยะเวลาการ เก็บรักษา พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด การวิเคราะห์สถานภาพการผลิตและการตลาด พบว่า การปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ต่อไร่ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร เท่ากับ 11,962.78 บาท อัตราผลตอบแทนจากการปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เฉลี่ยต่อไร่ต่อปี และจากการปลูกกล้วยน้ำว้าปาก ช่อง 50 การปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ต่อไร่ต่อปี มีผลผลิตค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในการ ลงทุน กล้วยน้ำว้านี้เป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของไทย รวมทั้งยังมี ความคล่องตัวสูงทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ กล้วยจึงเป็นผลไม้ที่น่าสนใจ และควรมีการปลูก เป็นการค้า จึงควรสนับสนุน และส่งเสริมอย่างจริงจัง ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการสนับสนุน และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยเพื่อการผลิต การแปรรูป และการส่งออกต่อไป