บทคัดย่องานวิจัย
การพัฒนาคุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของเกษตรกรในอําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วสันต์ สุทธโส.
รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการสวนมะพร้าวน้ำหอมและ ความต้องการพัฒนาคุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอมของเกษตรกร ในอําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) สร้างแผนการพัฒนาคุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอม 3) ทดลองใช้และประเมินแผนการพัฒนา คุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอม โดยศึกษาปัญหาการจัดการสวนมะพร้าวน้ำหอมด้วยแบบสอบถาม กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวน้ำหอมจํานวน 40 คน ได้พัฒนาแผนการพัฒนาคุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอมและทดลองใช้แผนการพัฒนาฯ กับเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวน้ำหอมจํานวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า อําเภอพุนพินมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวเป็นอันดับ 4 ของจังหวัด รองจากอําเภอ เกาะสมุย อําเภอเกาะพะงัน อําเภอเมือง ตําบลศรีวิชัยในอําเภอพุนพินมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม มากที่สุดคือ 160.25 ไร่ พื้นที่ปลูกอยู่ในที่ลุ่มจึงต้องยกเป็นร่องสวน ปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับราคาตกต่ำทั้งๆ ที่มีการซื้อขายหน้าสวนเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูร้อน และ ทุกสวนยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรกรจึงต้องการมีความรู้เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะพร้าวน้ำหอม ผลจากการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่าเกษตรกรมี ความต้องการอบรมให้ความรู้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับมะพร้าวน้ำหอม จึงให้มีการพัฒนา แผนการพัฒนาคุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอมประกอบด้วย 1) แผนการอบรมให้ความรู้เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับมะพร้าวน้ำหอม และ2) การติดตามผลการอบรม ซึ่งแผนการพัฒนาฯ มีผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (4.68±0.47) มี ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item Objective Congruence : IOC) อยู่ระหว่าง 0.60- 1.00 และค่าดัชนีความสอดคล้องขอข้อคําถามก่อน-หลังการอบรมกับจุดประสงค์ (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.60- 1.00 ได้จัดอบรมตามแผนการพัฒนาฯ ให้กับเกษตรกรจํานวน 30 คนพบว่า เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลังการอบรมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลัง การอบรมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ผลการติดตามหลังการอบรมพบว่ามีผู้นํา ความรู้ไปใช้จํานวน 5 ราย ส่วนการประเมินแผนการพัฒนาคุณภาพการผลิตมะพร้าวน้ำหอมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.65±0.52)