บทคัดย่องานวิจัย
การพัฒนานวัตกรรมจากส่วนเหลือทิ้งของมะพร้าว: ใยอาหารผงจากมะพร้าว และวัสดุนาโนเซลลูโลส
ฐิตา ฟูเผ่า.
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต:กรุงเทพฯ.(2560)
บทคัดย่อ
มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เมื่อมีการขยายตัวของภาคการเกษตรและ อุตสาหกรรมเกษตรของการผลิตมะพร้าวส่งผลให้มีส่วนเหลือทิ้งจากมะพร้าวเป็นจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนเหลือทิ้งของมะพร้าว โดยผลิตเป็นใยอาหารผงจากกากมะพร้าวและวัสดุนาโนเซลสูโลสจากกาบมะพร้าว ผลจากการศึกษาใยอาหารผง พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัด คือ ใช้ตัวทำละลาย 95% เอทานอลและตัวทำละลายเฮกเซน โดยใช้อุณหภูมิในการอบแห้งที่ 50 องศาเซลเซียส ซึ่งจะให้ปริมาณร้อยละของผลผลิตสูงที่สุด (82.14-80.60%) และมีปริมาณไขมันน้อยที่สุด (6.71-6.438) ขนาดของใยอาหารที่ 500 ไมโครเมตร จะให้คุณสมบัติเชิงหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีปริมาณใยอาหารที่สกัดได้อยู่ที่ 52.07-53.249 ส่วนผลการศึกษาวัสดุนาโนเซลลูโลส พบว่า กาบมะพร้าวจะถูกสกัดโดยการย่อยด้วยกรดซัลฟิวริคโดยใช้เทคนิคการบดด้วยลูกบด (ball milling) เซลลูโลสจากมะพร้าวที่กำจัดลิกนินออกแล้วจะมีลักษณะที่ประกอบด้วยเซลลูโลสปริมาณสูงซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเส้นใยเซลลูโลสไมโครไฟเบอร์ นอกนั้นนาโนเซลสูโลสที่สกัดได้ยังมีความเป็นผลึกสูง โดยประกอบด้วยโครงสร้างผลึกเซลลูโลสแบบเซลลูโลส I (cellulose I) เซลลูโลส II (cellulose II) และเซลลูโลสแบบอสัญฐาน ซึ่งมีขนาดอนุภาคปฐมภูมิประมาณ 50 นาโนเมตร ผลของงานวิจัยนี้เป็นการให้ข้อมูลในการนำส่วนเหลือทิ้งจากมะพร้าวไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตใยอาหารผงและวัสดุนาโนเซลสูโลส ซึ่งสามารถนำไปประยุกติใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ในอนาคต