บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาพันธุ์กล้วยให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยเทคนิคไบโอรีเอคเตอร์

ณัฐพงค์ จันจุฬา.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2561).

บทคัดย่อ

มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อชักนำการกลายพันธุ์กล้วยด้วยสารเคมีร่วมกับรังสีแกมมา 2) เพื่อใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลในการตรวจสอบการกลายพันธุ์ระดับโมเลกุล 3) เพื่อเพิ่มปริมาณต้นกล้วยให้ปลอดเชื้อในระบบ ไบโอรีแอคเตอร์แบบจมชั่วคราว และ 4) เพื่อคัดเลือกลักษณะพันธุ์กลายที่ดี เพื่อขยาย ทดสอบพันธุ์ และส่งเสริมเกษตรกรต่อไปจากการตรวจดีเอ็นเอกล้วยไข่ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาโดย DNA marker ด้วยเทคนิค HAT-RAPD จำนวน 6 ไพรเมอร์ พบความแตกต่างของรูปแบบดีเอ็นเอกล้วยไข่ จำนวน 5 ไพรเมอร์
โดยพบต้นกล้วยไข่ที่แถบดีเอ็นเอแตกต่างกล้วยไข่ control ทั้งหมด 13 โคลน จึงทำการคัดต้นพันธุ์ไว้ และทรีตสาร APM ไปตรวจวัดระดับ Ploidy พบว่ามีต้นที่แตกต่างจากต้นควบคุมทั้งหมด 7 โคลน และการตรวจดีเอ็นเอกล้วยหอมทองจากการกลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมาโดย DNA marker ด้วยเทคนิค HAT-RAPD จำนวน 6 ไพรเมอร์ พบความแตกต่างของรูปแบบดีเอ็นเอกล้วยหอมทอง จำนวน 5 ไพรเมอร์ โดยพบต้นกล้วยหอมทองที่แถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกล้วยหอมทอง control ทั้งหมด 24 โคลน และการทรีตสาร APM ไปตรวจวัดระดับ Ploidy พบว่ามีต้นที่แตกต่างจากต้นควบคุมทั้งหมด 4 โคลน จึงปลูกทดสอบพันธุ์ต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้ต้นกล้วยที่เกิดจากกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและได้แนวทางในการปรับปรุงพันธุ์