บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาแผนกลยุทธการส่งออกกล้วยไข่กำแพงเพชรสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ชาลี ตระกูล และราตรี สิทธิพงษ์.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 27(4), 93-102. (2564). 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกลยุทธ์ด้านการตลาดกล้วยไข่กำแพงเพชร สู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ SWOT Matrix ผลการศึกษา   พบว่าจุดแข็งของกล้วยไข่กำแพงเพชร คือ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค   ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังมีจุดอ่อน คือ ปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงพอที่จะส่งตลาดต่างประเทศเพราะการเผชิญกับลมพายุในช่วงที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นประจำทุกปีผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ ตลาดยังมีความต้องการทั้งในและนอกประเทศ ราคาดีมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วยไข่ ตลอดจนภาครัฐมีการส่งเสริมเพิ่มพื้นที่ให้ปลูกกล้วยไข่มากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAPแต่พบอุปสรรคคือ ราคาผลผลิตยังคงถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง ขาดข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม จากการวิเคราะห์SWOT Analysisดังกล่าว สามารถนำมากำหนดกลยุทธ์ในการส่งออกกล้วยไข่ได้ดังนี้ 1) กลยุทธ์เชิงรุก (SO-Strategy) คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออกให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การจัดโรดโชว์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม 2) กลยุทธ์เชิงรับ (WT-Strategy) ได้แก่ สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยไข่มากขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลให้การสนับสนุนในด้านการผลิตและด้านการตลาด และส่งเสริมการแปรรูปกล้วยไข่เพื่อเพิ่มมูลค่า 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST-Strategy) ได้แก่ การพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไข่ที่ยังมีรสชาติเดิมแต่ต้นกล้วยไข่เตี้ยลงเพื่อไม่ให้โค่นล้มได้ง่ายเมื่อโดนพายุ และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ และ 4) กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO-Strategy) ได้แก่ การพัฒนาการผลิตกล้วยไข่เพื่อให้ได้คุณภาพและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของตลาด การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไข่