บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาระยะความบริบูณ์ของผลมะพร้าวน้ำหอมภายในทะลายเดียวกัน

อารยา สุขแดง  นพพร จรูญชนม์  กฤษณา กฤษณพุกต์ และชิรญา อิ่มสบาย.
วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 3 (3) : 53-62. (2563).

บทคัดย่อ

มีคำกล่าวในหมู่ชาวสวนที่ปลูกมะพร้าวว่า “มะพร้าวในทะลายเดียวกัน มีระยะความบริบูรณ์ที่ไม่เท่า กัน” แต่ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ จึงมีสมมติฐานว่าดอกเพศเมียในช่อดอกมะพร้าวทยอยบาน และได้รับการผสมเกสรไม่พร้อมกัน อาจส่งผลให้มะพร้าวในทะลายเดียวกันมีระยะความบริบูรณ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงทำการศึกษาถึงระยะความบริบูรณ์ของผลมะพร้าวน้ำหอมที่อยู่ภายในทะลายเดียวกัน โดยเก็บตัวอย่างมะพร้าวน้ำหอมอายุประมาณ 6.5 – 7 เดือน จำนวน 20 ทะลาย บันทึกจำนวนผลต่อทะลาย น้ำหนักผล ความหนาของเนื้อมะพร้าว ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) และ อัตราส่วน TSS/TA ของน้ำมะพร้าว จากผลการ ศึกษาพบว่า มะพร้าวน้ำหอมมีจำนวนผลโดยเฉลี่ย 7 – 14 ผลต่อทะลาย น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.74 kg และ ความหนา เนื้อเฉลี่ย 0.44 cm ส่วนน้ำมะพร้าวมีปริมาณ TSS เฉลี่ย 7.42*Brix ปริมาณ TA เฉลี่ย 0.072% และ อัตราส่วน TSS TA เฉลี่ย 111 ซึ่งผลมะพร้าวในทะลายเดียวกัน (8 – 13 ผลต่อทะลาย) มีน้ำหนักผล ความหนาเนื้อ ปริมาณ TSS ปริมาณ TA และอัตราส่วน TSS/TA ของน้ำมะพร้าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าผลมะพร้าวน้ำหอมในทะลายเดียวกันมีระยะความบริบูรณ์ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: มะพร้าวน้ำหอม อายุผล ปมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้