บทคัดย่องานวิจัย
การเตรียมเเละตรวจวัดวัสดุดูดซับเอทิลีนจากซีโอไลต์/โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตสําหรับกระบวนการขนส่งกล้วยหอมทอง (Musa acuminata) หลังการเก็บเกี่ยว
สรัล ยิ้มมงคล.
[วิทานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561).
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมและการวิเคราะห์วัสดุฐานซีโอไลต์จากการกระตุ้น ด้วยสารละลายเบส (โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และ โซเดียมไฮดรอกไซด์) ที่ความเข้มข้น 1, 2 และ 3 โม ลาร์ เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ผ่านกระบวนการดูดซับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเป็น ระยะเวลา 5 ชั่วโมง และกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยเปรียบเทียบ กับวัสดุฐานซีโอไลต์ที่ไม่ผ่านการกระตุ้น พบว่า วัสดุฐานซีโอไลต์ที่ผ่านการกระตุ้นจะมีการกระจายตัวของ ผลึกบนพื้นผิวดีกว่าซีโอไลต์ที่ไม่ผ่านการกระตุ้น นอกจากนี้การศึกษาการยืดอายุและชะลอการสุกของ กล้วยหอมทอง (Musa acuminata) เป็นระยะเวลา 5 วัน โดยทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง สีของ เปลือกกล้วย (L, a* และ b*) และปริมาณความหวานภายในเนื้อผล พบว่าวัสดุฐานซีโอไลต์ที่ผ่าน กระบวนการกระตุ้นด้วยสารละลายเบสโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และโซเดียม ไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 1 โมลาร์ สามารถชะลอการสุกของกล้วยหอมทองได้ถึง 5 วัน เนื่องจากสีเปลือกของกล้วยหอมทองและ ปริมาณความหวานของเนื้อผลมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับชุดควบคุม