บทคัดย่องานวิจัย
การเปรียบเทียบวิธีการให้น้ำที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของกล้วยหอมทอง
กฤษฎา ลิ้มชูวงศ์, อารยา อาจเจริญ เทียนหอม, ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์ และ เจนจิรา ชุมภูคำ.
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 60. (หน้า 199-206).(2565).
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเกษตรกรไม่สามารถผลิตกล้วยหอมทองได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากไม่สามารถ จัดการน้ำในแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตที่ได้จึงไม่ตรงตามมาตรฐานการค้า ดังนั้นการนําเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart farm) มาใช้ในการผลิตพืช จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างเหมาะสม จึงมีการศึกษาผลของรูปแบบการให้น้ำ ในระบบที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของกล้วยหอมทอง โดยเปรียบเทียบการให้น้ำ 2 ระบบ ได้แก่ การให้น้ำด้วยระบบ ดั้งเดิม (Traditional irrigation: TI) โดยให้น้ำไปตามร่องและการให้น้ำในระบบสมาร์ทฟาร์ม (Smart farm irrigation: SF–I) ที่ ควบคุมการให้น้ำตามค่าเซนเซอร์วัดความชื้นในดินที่กำหนดจากการทดลองเป็นระยะเวลา 13 เดือน พบว่าระบบ SF–I ส่งผล ให้กล้วยหอมทองมีการเจริญเติบโตด้านลำต้นต้น ได้แก่ ด้านความสูง เส้นรอบวง จำนวนใบ ความกว้าง ความยาวใบ และ จำนวนหน่อมากกว่าระบบTI อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ อีกทั้งระบบ