บทคัดย่องานวิจัย

การเพาะเลี้ยงกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในไบโอรีแอกเตอร์แบบจมชั่วคราว(TIB)

ดวงพร เปรมจิต.
มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2560). 

บทคัดย่อ

ที่สูงอยู่ ในการศึกษานี้จึงพัฒนาวิธีการที่ประหยัดกว่าขึ้นมาโดยใข้ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในไบโอรีแอกเตอร์แบบจมชั่วคราว(TIB) ให้ไม่ต้องเติมวุ้น ซึ่งลดค่าใช้จ่ายลงไป การเพาะเลี้ยงเริ่มจากการนำชิ้นส่วนปลายยอดลงเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม BA (3 mg/L) ทำการย้าลงอาหารใหม่สูตร MS ที่เติม BA (5 mg/L) เพิ่มเพิ่มยอดทวีคูณหลายครั้ง จนกระทั่งได้ยอดระยะที่ 1 นำยอดนี้ไปลงเลี้ยงในในไบโอรีแอกเตอร์แบบจมชั่วคราว(TIB) การทดลองออกแบบเป็น CRD มี 16 ทรีตเมนต์ ทรีตเมนต์ละ 5 ซ้ำ โดยมีปัจจัยที่ศึกษาคือ จำนวนชิ้นเนื้อเยื่อเริ่มต้น (10, 20 ชิ้น) ระยะเวลาที่ชิ้นเนื้อเยื่อจมในอาหาร ( 1 นาที 20 นาที) จำนวนครั้งในการให้อาหาร ( 3 ครั้ง 6 ครั้ง) และปริมาตรของอาหารที่ใช้ ( 500 มิลลิลิตร 1000 มิลลิลิตร) โดยขนาดไบโอรีแอคเตอร์ที่ใช้คือ 2 ลิตร พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการใช้ระบบ TIB ในการเพิ่มปริมาณกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องคือ ทรีตเมนต์ที่ 3 โดยใช้ชิ้นเนื้อเยื่อเริ่มต้น 10 ชิ้น ให้เนื้อเยื่อจมในอาหารนาน 1 นาที ให้อาหารเข้าสู่ระบบเป็นระยะเวลา 3 ครั้งต่อวัน คือให้ทุกๆ 8 ชั่วโมง และใช้ปริมาตรอาหาร 1000 มิลลิลิตร ได้จำตายอดจำนวน 5.48 และยอดที่มีส่วนใบจำนวน 3.71 ยอด พบว่ามีอัตราการเพิ่มยอดทวีคูณเป็น 7.26 เท่า