บทคัดย่องานวิจัย
การเร่งระยะเวลาการให้ผลผลิตกล้วยหอมทองส่งออกให้ออกผลเร็วขึ้น ในกรณี : การเตรียมต้นกล้าให้สมบูรณ์ในอายุที่แตกต่างกันก่อนการนำลงปลูกทดแทนการให้หน่อโดยตรง
ชัยวิชิต เพชรศิลา, ณัชพัฒน์ สุขใส, ปณิดา กันถาด, ชัญญาภัค หล้าแหล่ง.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้.(2558).
บทคัดย่อ
งานวิจัยการเร่งระยะเวลาการให้ผลผลิตกล้วยหอมทองส่งออกให้ออกผลเร็วขึ้น ในกรณี:การเตรียมต้นกล้าให้สมบูรณ์ในอายุที่แตกต่างกันก่อนการนำลงปลูกทดแทนการให้หน่อโดยตรงศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร พบว่า หน่อที่ควรนำมาใช้เพื่อเตรียมต้นกล้าขนาดหน่อความสูง 4-6 เซนติเมตร และรอบโคนหน่อ 26 เซนติเมตรขึ้นไป หากใช้โคนต้นจะเล็กลงตามขนาดหน่อที่เล็กลง เมื่ออยู่ในสภาพแปลงจริง ขนาดโคนที่ต้นกล้า 45, 60, 95 และ 120 วัน ต้นกล้าที่มีอายุ 45 วัน มีขนาดโคนต้นที่ใหญ่ที่สุด การเจริญเติบโตของขนาดโคนเป็น 3 ระยะ คือ ขนาดโคนลดลงช่วงเวลา 1-11 สัปดาห์หลังปลูก, G2 โคนต้นชะงักเจริญเติบโตช่วง 13-19 สัปดาห์ และ G3 โคนต้นกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งหลังสัปดาห์ที่ 19 ส่วนด้านความสูงสะสมของต้นทุกระยะต้นกล้าไม่มีความแตกต่างกันในสัปดาห์ที่ 1-15 และเมื่อต้นกล้วยหอมทองเริ่มมีการขาดน้ำ ความสูงของต้นกล้าที่มีอายุ 45 วัน สูงที่สุด การเจริญเติบโตของความสูงมี 2 ระยะ คือ ระยะ G1 หลังจากการปลูกขนาดโคนลดลงช่วง 1-2 สัปดาห์ และ G2 ขนาดโคนเริ่มกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งหลังจากสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป แต่เมื่อน้ำท่วมขังหน่อกล้วยปกติเกิดการเน่าเสียทั้งหมด และเมื่อขาดน้ำ 3 เดือน ต้นกล้า 45 วัน เสียหายทั้งหมดแต่ยังสามารถแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ส่วนต้นกล้าอายุ 65, 95 และ 120 วัน มีขนาดต้นทั้งขนาดโคนต้นและความสูงที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยการแตกหน่อของต้นที่มีชีวิต ในต้นกล้ากล้วยหอมอายุ 65 วัน สามารถแตกหน่อได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์