บทคัดย่องานวิจัย
ผลของวิธีการสกัดต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของเพกทินจากกล้วยน้ำว้าสุกงอม
พรพรรณ จิอู๋ , ณัฐวุฒิ เนียมสอน.
วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 17(1), 26-36.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของวิธีการสกัดเพกทินจากกล้วยน้ำว้าในระยะสุกงอมจากส่วนเปลือก เนื้อ และกล้วยทั้งผล 2 วิธี คือ การสกัดด้วยกรดไฮโดรคลอริกที่ความเข้มข้น 0.05โมลาร์ อัตราส่วนของตัวอย่างต่อกรดไฮโดรคลอริก1:12 ที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส 60 นาทีและการสกัดด้วยกรดซิตริก0.05 โมลาร์อัตราส่วนตัวอย่างต่อกรด ซิตริก 1:20 ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส 180 นาทีพบว่าเพกทินที่ได้จากการสกัดทั้ง 2 วิธีมีสีน้ำตาลปริมาณ เพกทินและสมบัติทางเคมีได้แก่ น้ำหนักสมมูล ปริมาณเมทอกซิล ระดับการเกิดเอสเทอร์ และปริมาณกรดกาแลคทูโรนิคของเพกทินที่สกัดด้วยกรดไฮโดรคลอริกก็มีค่าสูงกว่าการสกัดด้วยกรดซิตริกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเนื้อกล้วยมีเพกทินมากที่สุด เท่ากับร้อยละ15.23d.b.รองลงมา คือ ส่วนของกล้วยทั้งผล และเปลือกกล้วย เท่ากับร้อยละ9.38 และ 2.49d.b.ตามลำดับ และเพกทินที่สกัดได้จากทั้งสามส่วน เป็นเพกทินชนิดที่มีเมทอกซิลสูง เนื่องจากปริมาณเมทอกซิลและระดับการเกิดเอสเทอร์ของเพกทินสกัดได้ มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ11.60-15.49 และร้อยละ82.74-93.84ตามล้าดับส่วนปริมาณกรดกาแลคทูโรนิคมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ43.81–53.18