บทคัดย่องานวิจัย

วิธีการทดสอบคุณภาพของกล้วยหอมทองโดยวิธีไม่ทำลายตัวอย่าง

ธนชาต ศรีเปารยะ อภิเดช บูรณวงศ์ คณดิถ เจษฎ์พัฒนานนท์.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(5),560 -571. (2563).

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี่ได้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบ NIR Spectral Sensor Model AS7263 เพื่อมาทำการทดสอบและหาวิเคราะห์สเปคตรัมของแสงที่มาทดสอบกล้วยหอมอย่างเหมาะสม โดยทำการวัดหาค่าการสะท้อนกลับของแสงจากกล้วยหอม30ลูกด้วยเครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้นมา  ขั้นตอนการทดลองงานวิจัยนี้ได้ใช้ NIR Spectral Sensor มาเป็นตัวประกอบสำคัญในการที่ประดิษฐ์ขึ้นมาทดสอบกับผลไม้คือกล้วยหอมทอง  NIR Spectral Sensor Model AS7263 นี้มีความยาวคลื่น 6 ย่านคือ 610nm, 680nm, 730nm, 760nm, 810nm และ 860nm ในแต่ละความยาวคลื่นจะให้ค่าทางสเปคตรัมที่แตกต่างกัน ค่าทางสเปคตรัมของกล้วยหอมที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เทียบกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน Brix refractometer จากผลการทดลองพบค่าทางสเปคตรัมในแต่ละความยาวคลื่นมีความเป็นไปได้ในการแยกระดับความหวานของกล้วยโดยผลการทดลองของแต่ละสเปคตรัมมีความสัมพันธ์ที่ดีและสอดคล้องกับค่าได้ได้จากเครื่องวัดความหวาน Brix refractometer