บทคัดย่องานวิจัย
สภาวะที่เหมาะสมในการบ่มกล้วยน้ำว้าเขียวด้วยใบพืช
สมาพร เรืองสังข์ และภัทรวดี สันทาลุนัย.
PSRU Journal of Science and Technology, 5(2), 72-87. (2563).
บทคัดย่อ
งานทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดซึ่งสามารถเร่งการสุกของกล้วยน้ำว้าเขียวโดยท้าการทดลองต่อเนื่อง 3 การทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบชนิดของใบพืชปริมาณใบพืชและระยะเวลาที่เหมาะสมในการบ่มกล้วยน้ำว้าเขียวผลการทดลองพบว่า การบ่มกล้วยน้ำว้าเขียวด้วยใบกระถินและใบขี้เหล็กในปริมาณและระยะเวลาบ่มที่เท่ากันนั้น การบ่มด้วยใบขี้เหล็กท้าให้กล้วยสุกมากกว่าโดยมีความหวาน 25.00 บริกซ์และมีคุณลักษณะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากกว่าการบ่มด้วยใบกระถิน สำหรับปริมาณใบขี้เหล็ก 500 กรัมท้าให้ผลกล้วยมีสีเปลือกเป็นสีเขียวปนเหลืองอ่อน มีค่าความหวานมากที่สุดคือ 22.44 บริกซ์และมีความแน่นเนื้อน้อยที่สุด คือ 2.70 นิวตันต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งมีคุณลักษณะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด และการใช้ใบขี้เหล็ก 500 กรัม บ่มกล้วยน้ำว้าเขียวเป็นเวลา 5 วันท้าให้ผลกล้วยมีสีเปลือกเป็นสีเขียวปนเหลืองอ่อน มีค่าความหวานมากที่สุด คือ 23.66 บริกซ์และมีความแน่นเนื้อน้อยที่สุด คือ2.66 นิวตันต่อตารางเซนติเมตรแต่ผู้บริโภคยอมรับการบ่มกล้วยน้ำว้าเขียวด้วยใบขี้เหล็ก 500 กรัม เป็นเวลา 4 วัน มากกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05).