บทคัดย่องานวิจัย

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการผลิตทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลในระบบเกษตรเพื่อความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของจังหวัดอุตรดิตถ์

เรืองเดช วงศ์หล้า.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์/.(2561).

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการผลิตทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลในระบบวน เกษตรเพื่อความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของจังหวัดอุตรดิตถ์ภายใต้โครงการวิจัยท้าทายไทย และโครงการวิจัยตอบสนองเป้าหมายรัฐบาลตามระเบียบวาระแห่งชาติ กลุ่มเรื่องนวัตกรรมเพื่อการ พัฒนาพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลของจังหวัด อุตรดิตถ์ สำหรับการจัดการระบบธุรกิจเกษตรเพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาด และระบบ พยากรณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติของการผลิตในระบบวนเกษตรเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการดิน น้ำ และป่า ของการผลิตทุเรียนหลงลับแล-หลินลับแลในระบบวนเกษตร เพื่อ การพัฒนาความสมดุลของระบบผลิตภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ทางสังคม และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ของรูปแบบการเกษตรในระบบวนเกษตรกับการผลิตการเกษตรรูปแบบอื่น เพื่อการจัดทำข้อเสนอ และมาตรการทางกฎหมายและทางนโยบายโดยมุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติพันธกิจในลักษณะ ของมหาวิทยาลัยพันธกิจสัมพันธ์ (Engagement University)ที่สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัด อุตรดิตถ์ โดยกระบวนการการสร้างรูปแบบการพัฒนาโจทย์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการ ลงพื้นที่ดำเนินการวิจัย และนำผลที่ได้จากการดำเนินงานวิจัย มาสู่การให้ผู้ใช้เทคโนโลยีในพื้นที่ มี ส่วนในการเลือกข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ และการส่งต่อผลผลิตระหว่างชุดโครงการ เพื่อให้ เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่สูงสุด ซึ่งการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์ จากงานวิจัย ได้รับการประเมินผลกระทบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่ใช้ข้อมูลในการวาง กลไกการพัฒนาระดับพื้นที่ โดยเฉพาะตำบลบ้านด่านนาขาม พบว่ามีการยกระดับพื้นที่การเพาะปลูก ทุเรียนในระบบวนเกษตร ให้มีประสิทธิภาพการผลิต การส่งต่อผลผลิตสู่ตลาดที่ได้รับการออกแบบให้ ลดความเหลื่อมล้ำได้ โดยการสร้างอัตลักษณ์ร้านค้าจำหน่ายทุเรียนให้ตอบสนองความต้องการและข้อ เรียกร้องจากผู้บริโภคได้มากที่สุด โดยเฉพาะในด้านของคุณภาพ จากงานวิจัย พบว่าในการวางระบบการบริหารงานวิจัยในรูปแบบการสร้างทีมกลางใน การสังเคราะห์ ตรวจติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของชุดโครงการ จะทำให้เกิดการลด ช่องว่างในการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างนักวิชาการ และผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ และการ ออกแบบการกำหนดโจทย์ การสร้างความต่อเนื่องของโจทย์ โดยเริ่มจากการสร้างฐานข้อมูลเพื่อให้มี ข้อมูลในการดำเนินงานต่อ และสร้างความเชื่อมั่นของข้อมูลให้กับพื้นที่ได้ จากนั้นนำข้อมูลที่มีมาสร้าง เป็นระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการผลิตทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล ได้อย่างมีคุณภาพในระบบวน เกษตร ที่สามารถใช้พยากรณ์การเกิดภัยพิบัติ และกำหนดคุณลักษณะของผลผลิตให้ตอบสนองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ ซึ่งใช้เป็นกลไกในการลดความเสียเปรียบในตลาดทุเรียนได้ รวมถึง การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิต ตั้งแต่ระบบการจัดการดิน น้ำ ป่า โดย การสร้างชุดความรู้การผลิต ส่งต่อให้เกษตรกรสามารถผลผลิตทุเรียนหลงลับแล หลินลับแลได้อย่างมี คุณภาพในการทำสวนระบบวนเกษตร สร้างทัศนคติที่ดีให้กับการทำวนเกษตร มากกว่าการทำเกษตร เชิงเดี่ยว ในขณะที่ข้อมูลต่างๆ จะส่งต่อการสร้างระบบการจัดการมาตรฐานเพื่อควบคุมกลไก การตลาด ที่ตอบโจทย์ของงานวิจัยในการที่จะลดความเข้าใจผิดของผู้บริโภคในการบริโภคทุเรียนหลง ลับแล หลินลับแล และสร้างความรับรู้ของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เกิดระบบการผลิตทุเรียนหลงลับแลหลินลับแลในระบบวนเกษตรเพื่อความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของจังหวัดอุตรดิตถ์เกิด ผลกระทบทางบวก เกิดนักวิจัยร่วมโครงการจำนวนมากมหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาองค์กรให้เป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อท้องถิ่นได้เต็มศักยภาพเพิ่มขึ้น เสริมสร้างสมรรถนะนักวิจัยและนักบริหาร จัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ เป็นชุดโครงการวิจัยที่ให้โอกาสในการต่อยอดจากฐานเดิมเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยนี้มีผลงานเป็นรูปธรรมที่ชี้ชัดถึงความสามารถในการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน จากกระบวนการที่กล่าวมา จะเห็นว่าเป็นการพัฒนาโจทย์เพื่อตอบประเด็นการผลิต ทุเรียนหลงลับแล หลินลับแลตั้งแต่ต้นน้ำคือการผลิต กลางน้ำคือการจัดการทางการตลาด และปลาย น้ำคือการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภค เมื่อดำเนินงานวิจัยครบวงจรแล้ว งานวิจัยนี้ได้สร้างระบบการ ประเมินและเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการยืนยัน ผลการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ว่าสามารถตอบสนองการขับเคลื่อนประเทศ ไทยสู่เป้าหมายของการหลุดพ้นกับดักจากรายได้ปานกลางในเรื่องของเกษตรและอาหาร ในทิศ ทางการพัฒนา Thailand 4.0 และสามารถใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงานองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ในระยะยาว